โครงสร้าง อบต.
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการ
.
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
รายงานการประชุมสภา
ขอเชิญประชุมสภา
ประกาศ / คำสั่ง อบต.
แผนจัดเก็บภาษีและพัฒนารายได้
แผนงาน
งานบุคคล
Back Office ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการ
อบต.ในเครือข่าย

Email


  หน้าแรก   ข่าวย้อนหลัง     รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน) 

รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน)
ข่าวประชาสัมพันธ์  
  รณรงค์ลดการเผาฟางข้าวและตอซังและเศษวัสดุทางการเกษตร โดยเปลี่ยนเป็นการไถกลบตอซัง และเศษวัสดุทางการเกษตร  
     

         ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็นช่วงความสุขของเกษตรกรหลายๆ คน เพราะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ขายและเกิดรายได้ แต่ในทางกลับกันช่วงเวลานี้มักเกิดปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศ  จนหลายคนเรียกว่า ฤดูฝุ่น ฤดูหมอกควัน หรือแม้แต่หิมะดำ (เขม่าควันดำใบอ้อย) ซึ่งการเผาทางเกษตรในที่โล่ง ก็เป็นแหล่งกำเนิดหนึ่งของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5  ด้วย แม้จะมีสัดส่วนไม่มากเท่าแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะจากเครื่องยนต์ดีเซล ก็ตามการที่ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ได้มุ่งเพิ่มปริมาณผลผลิตเป็นหลัก โดยขาดการจัดการที่ดี  จึงนิยมใช้วิธีการเผาสำหรับการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่งพบการเผามากที่สุด รองลงมาเป็น อ้อยโรงงาน ข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  

การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เกี่ยวข้องกับเรื่องการลดต้นทุนจ้างแรงงาน สะดวก รวดเร็ว ทำให้รอบการผลิตพืชได้เร็วขึ้น การเก็บเกี่ยว รวมรวม และขนส่งผลผลิตได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อว่าช่วยควบคุมศัตรูพืชและโรคพืช ทำให้ไถพรวนง่ายขึ้นด้วย แม้ว่าปัจจุบันจะมีการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรมาช่วยในการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยว ซึ่งได้ช่วยลดการเผาได้บ้าง แต่เครื่องจักรกลเหล่านั้นยังมีราคาสูงและเป็นภาระในการบำรุงรักษา ทำให้เรายังคงพบเห็นการเผาในพื้นที่ยังคงเกิดขึ้นทั้งในชนบทและในเมือง  ความจริงแล้ว เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแทบทุกส่วนล้วนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศการเกษตร  หากมีการจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม  จึงเริ่มมีเกษตรกร ผู้สนใจ และหน่วยงานต่างๆ ริเริ่มดำเนินการแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อช่วยลดการเผาในพื้นที่เพาะปลูก อาทิ ส่วนของฟางและตอซังข้าว เกษตรกรสามารถไถกลบตอซัง เป็นปุ๋ยพืชสด ฟื้นฟูสภาพดิน อัดฟางข้าวเป็นก้อน ใช้เลี้ยงสัตว์ จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยและทำเป็นโรงเรือนจากตอซังและฟางข้าว ทำฟางข้าวปรุงแต่งเสริมธาตุอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้  ส่วนใบอ้อย เกษตรกรสามารถอัดใบอ้อยเป็นก้อน ส่งขายให้โรงงานน้ำตาล เป็นเชื้อเพลิงผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า สร้างรายได้เพิ่ม หรือสับและคลุกใบอ้อยลงในแปลงให้ย่อยเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติและตัดใบอ้อยปกคลุมหน้าดิน และในส่วนของต้น ซัง และใบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยการไถกลบเร่งการย่อยสลาย ทำปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพด ช่วยลดต้นทุนการใส่ปุ๋ย การปลูกพืชในฤดูกาลต่อไป หรืออัดก้อนใบข้าวโพด ปรุงแต่งเสริมธาตุอาหารไปใช้เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

การปรับใช้หลักการจัดการมลพิษซึ่งเริ่มจากการป้องกัน การควบคุม การใช้ประโยชน์ และการลดการเผา เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจัดการเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตรและลดปัญหาฝุ่น PM2.5  อย่างรอบด้าน  

  • การป้องกันไม่ให้เกิดการเผา ต้องรณรงค์และส่งเสริมให้ทำเกษตรแบบปลอดการเผา ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อม ๆ กับมีการสนับสนุนเทคโนโลยีในเขตเกษตรกรรมทดแทนการเผา
  • การควบคุมการเผา จำเป็นอย่างยิ่งต้องจัดระเบียบการเผา พร้อมวางแผนและแจ้งการเผา การจัดการระบบแปลงให้เครื่องจักรกลเข้าพื้นที่ได้สะดวก กำหนดเขตห้ามเผาและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงควบคุมและกำจัดพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ใกล้เคียง
  • การใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร ครอบคลุมทุกวัสดุทางการเกษตรทุกประเภท พัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่า ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมจัดการระบบตลาดรองรับ
  • การลดการเผา ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกลไก กติกาในระดับพื้นที่ร่วมในการจัดการ อาจต้องมีข้อบัญญัติท้องถิ่น มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อเฝ้าระวังและติดตาม พร้อมมีศูนย์บริหารการจัดการเผาจังหวัดเพื่อร่วมบริหารและสั่งการ เป็นต้น

แม้การเปลี่ยนพฤติกรรมการเผาของเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะเปลี่ยนแปลงกันได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เพราะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิตและความเคยชินที่ทำกันมานาน ดังนั้น การส่งเสริมพร้อมสร้างแรงจูงใจแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือใช้มาตรการแบบผสมผสาน มีการลงโทษ จับ และปรับกันบ้าง ก็จะมีผลทางการปฏิบัติได้  ที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาการเผา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาฝุ่น PM2.5   และได้หยิบยกให้เป็นวาระที่สำคัญของประเทศ พร้อมกำหนดเป็นแนวทางและปฏิบัติการตามมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเมื่อปลายปี 2562  เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการควบคุม กำกับดูแล และลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ให้คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน  

การจัดการการเผาในพื้นที่เกษตรมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จำเป็นต้องมีเจ้าภาพหลักเป็นผู้ขับเคลื่อน และร่วมบูรณาการความร่วมมืออย่างจริงจัง  โดยเฉพาะความร่วมมือกับเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือก มีแนวทางปฏิบัติที่ดี และเริ่มปรับตัวกันมากขึ้น

 *บทความโดย วิลาวรรณ น้อยภา ฝ่ายวิจัยและส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

              ผลกระทบที่จะเกิดจากการเผาฟางตอซังและเศษ วัสดุทางการเกษตร

             • ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมเผาผลาญ อินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน

             • ทําลายโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก พืชลงอยางต่อเนื่องทุกปี

             • ก่อให้เกิดเขม่าควัน เถ้า ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ ส่งผล เสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

             • ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลธรรมชาติ อากาศร้อน ขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไถกลบตอซัง และเศษวัสดุทางการเกษตร

 ด้วยเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ

             1.โครงสร้างดินมีความ อุดมสมบูรณ์ แร่ธาตุ อาหารในดินเพิ่มมาก ขึ้น ไม่สร้างมลพิษ ทางอากาศ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมการใส่ปุ๋ย หมักมีอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่มมากขึ้นและช่วยใน การยอยสลายได้เร็วขึ้นการใส่นํ้าสกดชีวภาพมี  อินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่ม มากขึ้นและช่วยในการยอยสลายได้เร็วขึ้น

            2.การเพิ่มมูลค่าจากการหาประโยชน์จากฟางข้าว น่าจะเป็ นแรงจูงใจหลักให้เกษตรกรในการสร้างรายได้ ฟางข้าวนั้นมีประโยชน์มากมายเช่น นําไปเลี้ยงสัตว์ คลุม หน้าดินรักษาความชุ่มชื้น ใช้ในการเพาะเห็ด ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆนําเอาฟางข้างไปใช้ เป็นชีวมวลทางเลือกเสริมเชื้อเพลิงจําพวกแกลบและกาก อ้อยที่โรงงานนํ้าตาลและโรงสีข้าวมีความต้องการสูงและ ราคาเริ่มสูงขึ้นหรือทําเป็นนํ้ามัน ชีวภาพ Bio oil อีกด้วย

               จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ตำบลหนองบัว  ร่วมรณรงค์ไม่เผาฝางข้าวและตอซังในทุกพื้นที่  เปลี่ยนไปใช้การไถกลบตอซังข้าว เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มผลผลิตข้าวในนา  โดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีและเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกทางหนึ่งด้วย



ประกาศโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี
วันที่ประกาศ : 2564-12-15

บริการประชาชน
กระดานกระทู้ (ถาม ตอบ)
คู่มือและการให้บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
กฎหมายน่ารู้
เว็บไซต์บริการ
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 3.87.209.162
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,868,358

เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
ผลิตภัณฑ์ประจำตำบล
ตำบลหนองพลวง
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
şişli escort taksim escort mecidiyeköy escort ümraniye escort istanbul escort istanbul escort beşiktaş escort beylikdüzü escort şişli escort şişli escort istanbul escort ümraniye escort taksim escort şişli escort ümraniye escort kartal escort şirinevler escort maltepe escort mersin escort izmir escort istanbul escort pornohub kadıköy escort vip escort sex filmi sex hikaye erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop erotik shop işitme cihazi izmir işitme cihazı istanbul işitme cihazı
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลวง
ต.หนองพลวง อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
Tel : 044-980400,044-980444   Fax : 044-980444
Email : nongpluang@nongpluang.go.th
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.